ตับ น้ำดี ถุงน้ำดี และ นิ่วในถุงน้ำดี
ร่างกายเป็นสิ่งที่มีความอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากที่อวัยวะต่างๆจะสามารถทำงานได้อย่างประสานสอดคล้องกันเป็นอย่างดี ทุกอย่างยังมีเหตุที่มาที่ไป ที่เกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ได้ การศึกษาถึงความเจ็บป่วยเพียงอย่างเดียวจึงเกี่ยวพันไปถึงการเจ็บป่วยประการอื่นๆ เช่นเดียวกัน การที่เราจะเข้าใจถึงสาเหตุของการเป็นนิ่วในถุงน้ำดี เราจึงต้องทำความเข้าใจถึงความสำคัญ และ การทำงานของตับ น้ำดี และ ถุงน้ำดี ไปด้วยในขณะเดียวกัน
ความสำคัญของตับ น้ำดี และถุงน้ำดี และการเกิดของนิ่วในถุงน้ำดี
ตับเป็นอวัยวะที่เปรียบเสมือนโรงงานสารเคมีขนาดใหญ่ทำหน้าที่กว่า 500 อย่างในร่างกายของคนเรา นับแต่การสังเคราะห์โปรตีน สร้างภูมิต้านทาน ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน กระตุ้นการทำงานขอต่อมไร้ท่อ หรือแม้แต่การกระจายสารอาหารเข้าสู้เซลล์ต่างๆกว่าสามพันล้านเซลล์ในร่างกายของเรา นอกจากนี้ ยังช่วยในการขับสารพิษ เช่นสารปรุงแต่ง ฮอร์โมนส่วนเกิน โลหะหนัก หรือยาและสารเคมีสะสมต่างๆ ออกจากร่างกาย ซึ่งหนึ่งในวิธีการขับสารพิษออกจากร่างกายคือการสร้างน้ำดี เพื่อขับและลำเลียงสารพิษเหล่านี้ออกไป
การสร้างน้ำดีในตับนั้นจึงเป็นการกลั่นของเสียต่างๆที่ตับไม่ต้องการใช้แล้วออกมา ประกอบด้วย คอเลสเตอรอล บิลลิรูบิน กรดเกลือน้ำดี ตลอดจนสารอื่นๆที่ตับต้องการขับออกมาผ่านทางแขนงตับ ซึ่งน้ำดีจะค่อยๆหลั่งมาเพื่อทำการกักเก็บที่ถุงน้ำดี ก่อนจะถูกปล่อยสู่ลำไส้เล็กตอนต้น เพื่อทำหน้าที่ในการช่วยย่อยต่อไป
ด้วยเหตุนี้นอกจากที่น้ำดีเหล่านี้จะเป็นเป็นเส้นทางการลำเลียงสารพิษของเสียแล้ว ยังทำหน้าที่สำคัญในการย่อยอาหาร โดยเฉพาะการย่อยไขมันอีกด้วยทุกครั้งที่เราทานอาหารที่มีไขมันลงไป สมองจะสั่งให้ถุงน้ำดีทำการบีบตัว เพื่อหลั่งน้ำดีออกมาผ่านทางท่อน้ำดี เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร ในระหว่างที่น้ำดีได้รับการพักอยู่ที่ถุงน้ำดีนั้นเอง ถุงน้ำดีจะค่อยๆทำให้น้ำดีมีความเข้มข้นสูงขึ้น กล่าวกันว่าถุงน้ำดี จะทำให้น้ำดีมีความเข้มข้นขึ้นถึง 5 เท่าเพื่อให้น้ำดีที่หลั่งออกมาจากถุงน้ำดีนี้สามารถย่อยไขมันในลำไส้เล็กตอนบนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การดูดซึมอาหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ในขณะเดียวกัน หากน้ำดีที่ถูกหลั่งมาจากตับ มีความไม่สมดุลกันของสารตั้งต้น เช่น คอเลสเตอรอล บิลลิรูบิน กรดเกลือน้ำดี เหล่านี้ ทำให้น้ำดีมีความหนืดสูง จับตัวแน่นและตกตะกอน กลายเป้นก่อนนิ่วคอเลสเตอรอลค้างในถุงน้ำดีหรือที่เราเรียกกันว่านิ่วในถุงน้ำดีนั่นเอง นานวันเข้า เมื่อก้อนนิ่วดังกล่าวจับตัวกันมากขี้น กลายเป็นผลึกก้อนใหญ่ อาจเกิดเป็นก้อนนิ่วค้างอยู่ในถุงและท่อน้ำดีจำนวนมาก ซึ่งจะคอยขัดขวางการไหลของน้ำดีสู่ลำไส้ เป็นผลทำให้น้ำดีหลั่งได้น้อย ไม่เพียงพอกับการย่อยอาหาร ในภาวะเช่นนี้ ผู้ป่วยจึงมักมีอาการปวดท้อง อืด แน่น หลังทานอาหาร ในกรณีรุนแรงเมื่อผู้ป่วยทานอาหารเข้าไป สมองจะสั่งให้น้ำดีทำการบีบตัว แต่เนื่องจากถุงน้ำดีเต็มไปด้วยก้อนนิ่ว การบีบตัวของน้ำดีจึงทำให้เกิดอาการจุกเสียด แน่นท้อง โดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงด้านขวา (Gallbladder Attack) ในบางครั้ง ในผู้ที่มีความรุนแรงมาก อาจปวดร้าวไปถึงด้านหลังเลยทีเดียว
อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดีและการผ่าตัดในมุมมองของแพทย์แผนปัจจุบัน
หลายครั้งเราจะพบว่าผู้ที่เป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีไม่ได้มีอาการบ่งชี้มาก่อน จู่ๆวันหนึ่งก็เกิดปวดท้องขี้นอย่างรุนแรง เมื่อไปพบแพทย์แผนปัจจุบันและตรวจแล้ว จึงพบว่าเป็นนิ่วในถุงน้ำดี และแพทย์มักแนะนำให้ผ่าตัด ดังนั้นแล้ว การมีก้อนนิ่วในถุงน้ำดี บางครั้งจึงอาจกล่าวได้ว่าเป็น Silent Stones ซึ่งก็คือเป็นอาการที่เกิดขี้นอย่างเงียบๆ โดยไม่รู้ตัว คนป่วยมักไม่ได้ใส่ใจไปตรวจ จนกระทั่งอาการรุนแรงขี้นแล้วนั่นเอง จากการวิเคราะห์สังเกตรอยโรคดังกล่าว จึงกล่าวได้ว่าอาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดีไม่ชัดเจน กระทั่งเป็นหนักแล้ว แพทย์แผนปัจจุบันจึงจำแนกผู้ป่วยตามอาการได้แก่
1. มีนิ่วในถุงน้ำดี แต่ไม่มีอาการ (Incidental Gallstones) พบเฉลี่ยก็ประมาณ 7.5% ของประชากรทั่วไป ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้อยู่เฉยๆ และไม่แนะนำให้ผ่าตัดทันที เนื่องจากมีความเสี่ยงจากอาการแทรกซ้อนเนื่องมาจากการตัดถุงน้ำดีได้
2. มีนิ่วในถุงน้ำดี ร่วมกับมีอาการของนิ่ว (Uncomplicated Gallstone Disease ) นั่นคือผู้ป่วยมีอาการปวดท้องใต้ชายโครงขวาอย่างแรง ปวดนานร่วมครึ่งชั่วโมง เป็นระยะๆ โดยเฉพาะหลังจากการทานอาหาร ซึ่งในกรณีเช่นนี้ มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นถุงน้ำดีอักเสบได้ แพทย์แผนปัจจุบันจึงแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว
3. มีนิ่ว ร่วมกับมีอาการไม่เจาะจง ผู้ป่วยจะมีอาการอื่นๆร่วม แต่ไม่รุนแรง เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย จุก เสียด แน่นท้อง ซึ่งในกรณีนี้พบว่าการผ่าตัดจะทำให้อาการดังกล่าวหายไป 56% แต่นอกจากนี้ คนที่ผ่าตัดจะได้พบว่าตนเองมีอาการท้องอืดควบท้องเสียเรื้อรัง ซึ่งเป็นอาการเนื่องมาจากหลังการผ่าตัด (Post Cholecystectomy Syndrome) ในผู้ป่วยกรณีนี้ แพทย์แผนปัจจุบันบางที่านที่อนุรักษ์นิยม อาจไม่แนะนำให้ผ่าตัด แต่แพทย์หลายท่านก็แนะนำให้ผ่า อย่างไรก็ตามปัญหานี้ยังเป็นข้อถกเถียงในวงการแพทย์มานานกว่า 30 ปี
อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดีและการผ่าตัดในมุมมองของแพทย์แนวธรรมชาติบำบัด
แพทย์แนวธรรมชาติบำบัด มีแนวทางเกี่ยวกับสุขภาพที่แตกต่างจากมุมมองของแพทย์แผนปัจจุบัน เนื่องด้วยแนวความคิดของการรักษานั้นเน้นการรักษาที่เหตุของโรค โดยที่ไม่ได้เน้นที่รักษาอาการหรือรอยโรค ดังนั้น จึงไม่ได้เน้นการทำให้อาการปวดหายไปแต่เพียงอย่างเดียว แต่ตรวจดูว่าสาเหตุของอาการนั้นมาจากสิ่งใด แล้วจึงกำจัดสิ่งนั้นออกไป ตามที่เราได้ทราบกันแล้วว่าอาการปวดท้องอย่างหนักที่บริเวณชายโครงขวา เกิดขี้นมาจากการมีนิ่วอุดตัน เป็นจำนวนมาก เมื่อเป็นรุนแรงเข้า ผู้ป่วยจึงมีอาการจุก เสียด แน่น เพิ่มขี้นไปโดยปริยาย ด้วยเหตุนี้ การเน้นการล้างเอาก้อนนิ่วออก โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงผ่าตัดอวัยวะภายใน จึงเป็นแนวทางที่แพทย์แนวธรรมชาติบำบัดให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก การที่จะทำให้ก้อนนิ่วหลุดออกมานั้น แพทย์จำต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้ตับมีแรงดันน้ำดีและนิ่วในถุงน้ำดีออกมา รวมไปถึงการทำให้ก้อนนิ่วมีความอ่อนตัว นิ่ม เพือที่ว่าเวลาล้างออกมาจึงจะได้ล้างออกโดยง่าย ไม่เกิดอาการอื่นๆแทรกซ้อน ขั้นตอนเหล่านี้คือการทำการล้างนิ่วในถุงน้ำดี (Gallbladder Flush) ซึ่งเป็นสิงที่แพทย์แนวธรรมชาติบำบัดมักแนะนำให้ผู้ป่วยทำเพื่อช่วยในการล้างพิษออก
อ่านคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับนิ่วในถุงน้ำดี และ ตับ ได้ที่นี่
ข้อควรรู้เกี่ยวกับนิ่วในถุงน้ำดี
นิ่วในถุงน้ำดี
นิ่วในถุงน้ำดี มีลักษณะคล้ายก้อนหินกรวดสีเขียวเล็กๆ ที่เกิดจากการรวมตัวของ คอเลสเตอรอล, เม็ดสีของน้ำดี, แคลเซียม คาร์บอนเนต (พบได้ยาก), หรือ มีส่วนผสมของทั้ง 3 ตัวซึ่งพบประมาณ 80% ของคนทั่วไป
ซึ่งเกิดมาจากการที่มีปริมาณคอเลสเตอรอลมากกว่าเกลือน้ำดี (bile salts) ทำให้ คอเลสเตอรอลตกตะกอนเป็นก้อนนิ่ว พบมากในแถบตะวันออกกลางเนื่องจากมีโอกาสในการเกิดโรคจากพาหะนำโรค ซึ่งตัวพาหะนี้มีส่วนทำให้การผลิตของบิลิลูบิน (Bilirubin) เกิดจากการขับแคลเซียมในปริมาณที่สูง ซึ่งส่วนมากจะมี คอเลสเตอรอลประมาณร้อยละ 20 - 80 ของส่วนผสมทั้งหมด
ประเภทของก้อนนิ่ว
ในประเทศไทยนั้น ก้อนนิ่วที่พบมากคือ ก้อนนิ่วที่มีส่วนผสมของทั้ง 3 ชนิด โดยมีคอเลสเตอรอลในอัตราที่สูง ก้อนนิ่วคอเลสเตอรอล (Cholesterol gallstones)
ก้อนนิ่วเม็ดสีน้ำดี (Pigmented stones)
ก้อนนิ่วแคลเซียม คาร์บอนเนต(Calcium carbonate stones)
ก้อนนิ่วที่มีส่วนผสมของทั้ง 3 ชนิด (Mixed gallstones)
- เกลือน้ำดี (Bile Salts)
- น้ำดี
- ไขมัน
- บุคคลที่มีผิวขาว(Fair): เนื่องจากเมลาโทนินช่วยยับยั้งการตกตะกอนของ คอเลสเตอรอล
- ไขมัน(Fat): บุคคลที่มีคอเลสเตอรอลสูง และมีโรคอ้วน
- ผู้หญิง (Female): ฮอร์โมนเอสโตเจนมีส่วนในการก่อตัวของก้อนนิ่ว
- ผู้หญิงที่มีบุตรจำนวนมาก (Fertile): ช่วงก่อนหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตเจนจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมีผลให้คอเลสเตอรอล เพิ่มสูงขึ้นด้วย
- อายุใกล้ 40 หรือมากกว่า (Forty): ผู้ป่วยด้วยโรคนิ่วจะพบในบุคคลที่มีอายุใกล้ 40 หรือมากกว่า
- อันตรายที่สำคัญของก้อนนิ่ว คือการอุดตันของท่อและถุงน้ำดีแบบทันใดหรือเรื้อรัง ถ้ามีการติดเชื้อร่วมด้วยจะรุนแรง อาจต้องผ่าตัดด่วน
- อาจทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบ
- อาจทำให้เกิดมะเร็งได้
การล้างท่อตับและน้ำดีมีประโยชน์อย่างไร
- ไม่ต้องผ่าตัดเมื่อมีก้อนนิ่วอยู่
- อาการปวดท้อง และอาการร่วมต่างๆก็จะหายไป
- สุขภาพร่งกายดีขึ้น ไม่มีแผลที่เหงือกละช่องปาก มีพลัง ไขมันในเลือดไม่สูง นอนหลับสบาย
- ปวดท้องตรงบริเวณใต้ชายโครงขวาหรือลิ้นปี่ ลักษณะปวดบิดเกร็งเป็นพักๆ (แบบท้องเดิน)
- อาจมีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่ขวาหรือบริเวณหลังตรงใต้สะบักขวา มักปวดนานเป็นชั่วโมง
- อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
- อาการปวดท้องมักเกิดขึ้นหลังกินอาหารมันๆ หรือหลังกินอาหารมื้อหนัก
- อาการปวดท้องอาจทุเลาไปได้เอง แต่ก็อาจกำเริบเป็นครั้งคาว โดยเฉพาะหลังมื้ออาหาร
- เวลาปวดท้อง ใช้มือกดดูบริเวณที่ปวดจะไม่เจ็บ